วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายตรรกศาตร์

ตรรกศาสตร์ : ความหมาย 
วิชาตรรกศาสตร์ หรือ ตรรกวิทยา (มาจากคำว่า "Logic" และฟังมาว่า ตอนที่จะบัญญัติศัพท์นี้เป็นภาษาไทยนั้น ราชบัญฑิตย์ฯ ประชุมกันหลายวาระ ตกลงกันไม่ได้ว่าคำใดจะเหมาะสมที่สุด เพราะผู้เสนอต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญวิชานี้ เถียงกันไปเถียงกันมาจึงได้ข้อตกลงว่าใช้ได้ทั้ง ๒ คำ)  
อันที่จริง การโต้เถียงว่าจะบัญญัติคำใดแทน Logic นั้น มิใช่การอ้างเหตุผล แต่เป็น การทำให้มีเหตุผล  หรือ เหตุผลเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) เท่านั้น เพราะผู้ถกเถียงต่างก็ไม่อยากจะใช้คำที่คนอื่นบัญญัติขึ้นมาและต้องการที่จะใช้คำที่ตนเองบัญญัติขึ้นมานั่นเอง ดังที่นักตรรกศาสตร์ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ความจริงต้องมีเหตุผล แต่เหตุผลมิใช่ความจริง
ส่วนความหมายของวิชานี้ โดยทั่วไปก็มีผู้ให้ความหมายไว้ไม่ค่อยแตกต่างกันนัก เช่น "ศิลปแห่งการนิยามความหมายและการใช้เหตุผล" "การใช้เหตุผล"  หรือ "การให้เหตุผล" ...อะไรทำนองนี้
อนึ่ง ยังมีวิชาที่ใกล้เคียงกับตรรกศาสตร์ เช่น
ภาษาศาสตร์ หรือวิชาที่มีชื่ออย่างอื่นที่ศึกษาเกี่ยวกับภาษา วิชาเหล่านี้จะใกล้เคียงกับตรรกศาสตร์ เนื่องจากตรรกศาสตร์ก็ต้องใช้ภาษาเช่นเดียวกัน
จิตวิทยา จะศึกษาเรื่องพฤติกรรมของจิตหรือกลไกของระบบความคิด ซึ่งตรรกศาสตร์ก็ต้องใช้กระบวนการของจิตเช่นเดียวกันเพื่อคิดหาเหตุผลมาอธิบาย
ญาณวิทยา หรือทฤษฎีความรู้ ก็จะใกล้เคียงกับตรรกศาสตร์ เพราะมีกระบวนการสร้างความความรู้ ตรวจสอบความสมเหตุสมผลของความรู้ เป็นต้น
คณิตศาสตร์ ก็ใกล้เคียงกับตรรกศาสตร์ เพราะใช้วิธีการคิดที่เต็มไปด้วยกฎระเบียบเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะตรรกศาสตร์สัญลักษณ์เป็นเรื่องหนึ่งซึ่งบังคับให้ทั้งผู้ที่เรียนคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ต้องเรียนเรื่องนี้
อนึ่งโสด มีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า เครื่องมือที่ดีย่อมสร้างสิ่งที่ดีได้ ฉันใด ตรรกศาสตร์ก็คล้ายๆ เครื่องมือฉันนั้น กล่าวคือ ตรรกศาสตร์คล้ายๆ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาวิชาเหล่านี้และวิชาอื่นๆ นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น